วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนที่5 การออกแบบการเรียนการสอน


การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิค Backward Design
 เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ หรือตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน แล้วจึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และแสดงความรู้ ความสามารถตามหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน
1 หน่วยการเรียนรู้ไว้ 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ
ขั้นที่ 1 กำหนดความรู้ความสามารถของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดขึ้นตามมาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ขั้นที่ 2 กำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง หลังจากได้เรียนรู้แล้ว
ซึ่งเป็นหลักฐานการแสดงออกที่ยอมรับได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 3 ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามหลักฐานการแสดงออกที่ระบุไว้
การจัดการเรียนรู้ หรือจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนปฏิบัติ ดังนี้
1. กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและจิตพิสัย ตามเป้าหมายที่กำหนด
2. กำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้(ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและหลักการต่าง ๆ) และมีทักษะ ตามมาตรฐาน/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียนรู้


วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. การทดสอบ(ปรนัยเลือกตอบอัตนัย)
2. การสังเกตพฤติกรรม หรือการทำโครงงาน หรือการประเมินตามสภาพจริง
3. กำหนดสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม ที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาตาม
เป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด
4. กำหนดจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละชุดของกิจกรรมการเรียนรู้
5. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลจากการออกแบบการจัดการเรียนรู้มาจัดทำ
แผนการจัดการเรียนรู้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเทคนิค Backward Design
ขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design ดังนี้
1. กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้/จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อผู้เรียน และสังคมและเหมาะสม
สอดคล้องกับระดับการศึกษาของผู้เรียน
2. กำหนดความเข้าใจที่คงทน(Enduring understanding) ของหน่วยฯ ที่ต้องการให้เป็นความรู้
ความเข้าใจติดตัวผู้เรียนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นเวลานาน
3. กำหนดความคิดรวบยอดย่อย(Concepts)ที่สำคัญที่จะให้ผู้เรียนได้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมี
คุณลักษณะตามหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด ซึ่งแต่ละ Concept ที่กำหนดต้องสรรหาอย่างเหมาะสม
4. กำหนดความรู้ และทักษะเฉพาะวิชา(Subject-specific standard) ที่เป็นความรู้(K) ทักษะ(P)
เฉพาะวิชา ของแต่ละ Concept
5. ตรวจสอบความสอดคล้องของความรู้(K) และทักษะ(P)เฉพาะวิชา ของแต่ละ Concept
6. กำหนดทักษะคร่อมวิชา(Trans-disciplinary skills standards)ที่ต้องใช้ในการจัดการเรียนรู้
ให้กับผู้เรียน เช่น กระบวนการกลุ่ม การวิเคราะห์ การเขียนรายงาน ฯลฯ ที่เป็นทักษะที่สามารถใช้ได้หลายวิชา
7. กำหนดจิตพิสัย(Disposition standards) ของหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
8. กำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด
9. กำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจตามความเข้าใจที่คงทน จิตพิสัย(A) และ
ทักษะคร่อมวิชาความรู้(K) และทักษะ(P) เฉพาะวิชาที่กำหนด
10. จัดลำดับหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน (การประเมิน)ให้เป็นลำดับที่เหมาะสม เพื่อนำไป
ออกแบบการจัดการเรียนรู้
11. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยนำการประเมินที่จัดลำดับไว้
12. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยนำการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ออกแบบไว้
13. ตรวจสอบความเหมาะสมของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่เริ่มกำหนดหน่วย จนถึงจัดทำแผนการจัดการเรียนู้
14. นำผลการออกแบบการจัดการเรียนรู้ไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ   เพื่อการวิเคราะห์การออกแบบการพัฒนาการดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน
   
แบบจำลอง ADDIE
เป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่  ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไป ที่ขั้นตอนก่อนหน้า   ผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆ    เป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไป
การออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE
(Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model)
การวิเคราะห์(Analysis)
        ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ  ระบุปัญหาระบุแหล่งของปัญหา   และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้   เทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ  เช่น   การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) การวิเคราะห์งานการวิเคราะห์ภารกิจ    ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย (goal), 
 การออกแบบ (Design)
          ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน  ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน
การพัฒนา (Development)
          ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ



การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)
            ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ
การประเมินผล (Evaluation)
           ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน  การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด
 ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ  เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล
การประเมินผลรวม (Summative evaluation):  โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว  การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน 
กระบวนการจัดการเรียนรู้
                1.  กำหนดจุดประสงค์และสาระสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
                2.  วิเคราะห์จุดประสงค์ สื่อและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอน
                3.  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์
                4.  ออกแบบปฏิสัมพันธ์ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้  โดยเลือกใช้กระบวนการกลุ่มที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ
                5.  เตรียมใบช่วยสอน สื่อ/อุปกรณ์  และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
                6.  ออกแบบการประเมินผลและเครื่องมือ
                7.  จัดการเรียนรู้และบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
                8.  ปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

องค์ประกอบการเรียนรู้
                เป็นโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้  ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามศักยภาพ  ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบต่าง ๆ พบว่ามีโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน 4 องค์ประกอบ คือ
    1.  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                เป็นองค์ประกอบที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงประสบการณ์เดิมของตนมาเชื่อมโยง หรืออธิบายประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่  แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปหรือความรู้ใหม่ 
   2.  การสร้างความรู้ร่วมกัน
                เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้คิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  สร้างสรรค์มวลประสบการณ์ข้อมูล  ความคิดเห็น  ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน  หรือเกิดข้อสรุป/ความรู้ใหม่หรือตรวจสอบ/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง
   3.  การนำเสนอความรู้
                เป็นองค์ประกอบที่เน้นให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้ แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน หรือข้อสรุปต่าง ๆ
  4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
                เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุป  หรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้  หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น ๆ